กติกาการแข่งขัน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (เริ่ม 20 มีนาคม 2553) ของ คนเก่งภาษาไทย

รอบแรก

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 3 รอบ ได้แก่

รู้ไหมคำใดผิด

ทั้ง 4 โรงเรียน จะต้องค้นหาคำศัพท์ที่ผิด และเขียนคำศัพท์ที่ค้นหานั้นให้ถูกต้อง โดยจะมีคำทั้งหมด 10 คำ มีคำศัพท์ที่เขียนถูกต้อง สะกดถูกต้องอยู่ 5 คำ และสะกดผิดอยู่ 5 คำ ทีมใดที่มีคะแนนน้อยที่สุด 1 โรงเรียน จะต้องตกรอบไป ในกรณีที่มีคะแนนน้อยที่สุดเท่ากัน 2 โรงเรียนขึ้นไป ก็จะต้องตัดสินด้วยเวลาที่ใช้ในการตอบ โรงเรียนใดใช้เวลามากที่สุด จะต้องตกรอบไป

เรียงคำตามหลักอักษรไทย

จะมีคำศัพท์ทั้งหมด 7 คำ ซึ่งทั้ง 7 คำ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเดียวกันหมด (จะเป็นหมวดอักษร เช่น ก.) ทั้ง 3 โรงเรียน จะต้องเรียงคำเหล่านั้นตามลำดับก่อนหลัง ตามหลักของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โรงเรียนใดมีคะแนนน้อยที่สุด จะต้องตกรอบไป ในกรณีที่มีคะแนนน้อยที่สุดเท่ากัน 2 โรงเรียนก็จะต้องตัดสินด้วยเวลาที่ใช้ในการตอบ โรงเรียนใดใช้เวลามากที่สุด จะต้องตกรอบไป

เรียงถ้อย ร้อยคำ ตามกวี

จะมีส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ ซึ่งจะเป็นคำประพันธ์เดียวกันทั้ง 2 โรงเรียน โดยในคำประพันธ์ จะมีคำที่ว่าง (ซึ่งพิธีกร จะอ่านด้วยคำว่า จุด จุด จุด) อยู่ทั้งหมด 4 ตำแหน่ง โดยจะมีตัวเลือกทั้งหมด 10 ตัวเลือก (ใน 2 ครั้งแรก) ต่อมาตัวเลือก มี 8 ตัวเลือก ให้ผู้แข่งขัน เลือกคำจากตัวเลือกเหล่านั้นมาเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง โดยเริ่มจากโรงเรียนที่มีคะแนนมากกว่าจากรอบที่แล้ว ซึ่งอีกโรงเรียนจะต้องเข้าไปในห้องเก็บเสียง ซึ่งไม่ได้ยินทั้งภาพและเสียง แล้วจากนั้นจะเป็นการเล่นของอีกโรงเรียน วึ่งโรงเรียนที่เล่นไปแล้ว ก็จะต้องเข้าห้องเก็บเสียงเช่นเดียวกัน หลังเล่นเสร็จแล้ว โรงเรียนใดตอบถูกต้องมากตำแหน่งกว่ากัน จะเข้าสู่รอบต่อไป กรณีถูกต้องเท่ากัน โรงเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า จะเข้ารอบไปเช่นเดียวกัน

รอบที่สอง

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 3 รอบ เพื่อคัดเลือก 2 ทีม เข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศได้แก่

บอกความหมายทายสำนวน

ทั้ง 4 โรงเรียน จะต้องเลือกสำนวน ที่ตรงกับความหมายที่พิธีกรจะกล่าวไป ไม่จำเป็นต้องกล่าวจบ ผู้แข่งขันมีสิทธิ์กดสัญญาณไฟได้ทันที และต้องตอบภายใน 3 วินาที ถ้าตอบผิด ถือว่าข้อนั้นหมดค่าทันที ทีมอื่นจะไม่สามารถกดสัญญาณไฟต่อได้ โดยจะเล่นทั้งหมด 2 รอบ รอบละ 5 ข้อ โดยจะขึ้นต้นด้วยคำเดียวกัน ในแต่ละรอบ จะมีทั้งหมด 8 สำนวน รอบแรก ข้อละ 1 คะแนน รอบที่ 2 ข้อละ 2 คะแนน หลังจากจบการแข่งขันแล้ว ทีมที่มีคะแนนน้อยที่สุด จะต้องตกรอบไป ในกรณีที่มีคะแนนน้อยที่สุดเท่ากัน 2 โรงเรียนขึ้นไป ก็จะต้องตัดสินด้วยการแข่งขันเดิม แต่จะไม่มีตัวเลือก โรงเรียนใดตอบถูกก่อน จะเข้ารอบไป อีก 1 ทีมที่เหลือจะตกรอบทันที

สิ่งนี้ชื่อใด

จะมีรูปภาพทั้งหมด 5 รูป และ 7 คำ จะเป็นหมวดเดียวกัน ทั้ง 3 โรงเรียน จะต้องเลือกคำตามที่ทางรายการสุ่มเลือกรูป เมื่อรูปหยุดแล้ว ทั้ง 3 ทีม จะแข่งกันกดสัญญาณไฟ แล้วตอบ ถ้าผิด รูปนั้น จะกลับมาเล่นภายหลัง 2 ทีมแรกที่ได้ 2 คะแนนก่อน จะเข้ารอบสู่รอบก่อนรองชนะเลิศทันที ทีมที่เหลือ จะต้องตกรอบไป

นามคู่กันในวรรณคดี

จะมีป้ายชื่อตัวละครในวรรณคดีทั้งหมด 12 ป้าย มีเพียง 8 ป้าย 4 คู่ เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กัน ผู้แข่งขันจะต้องวางป้ายคำให้ตรงตำแหน่งกัน โดยแต่ละคู่นั้นจะมีความสัมพันธ์กันในวรรณคดีไทยอยู่ แล้วกดปุ่มหยุดเวลา โดยเริ่มจากโรงเรียนที่มีคะแนนมากกว่าจากรอบที่แล้ว ซึ่งอีกโรงเรียนจะต้องเข้าไปในห้องเก็บเสียง ซึ่งไม่ได้ยินทั้งภาพและเสียง แล้วจากนั้นจะเป็นการเล่นของอีกโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนที่เล่นไปแล้ว ก็จะต้องเข้าห้องเก็บเสียงเช่นเดียวกัน หลังเล่นเสร็จแล้ว โรงเรียนใดตอบถูกต้องมากคู่กว่ากัน จะเป็นอันดับหนึ่งของสายนั้น อีกทีมจะเป็นอันดับสองของสายนั้น กรณีถูกต้องเท่ากัน โรงเรียนที่ใช้เวลาน้อยกว่า จะเป็นอันดับหนึ่งทันที

ใกล้เคียง

คนเก่งทะลุโลก คนเก่งฟ้าประทาน คนเก็บของป่าล่าสัตว์ คนเล่าผี คนเกมทะลุเกม คนเกี่ยวข้าว (เบรอเคิลผู้พ่อ) คนเผ่าบ๊อง ต๊องตะลุยเมือง คนเล่นลูท (คาราวัจโจ) คนเก็บฟืน (คัมภีร์ไบเบิล) คนแก่